ประเภทของสแตนเลส

โดยทั่วไปสแตนเลส แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ตามโครงสร้าง คือ

 

1. ตระกูลออสเทนนิติค(Austenitic)

หรือที่รู้จักกันใน "ซีรี่ส 300" ซึ่งประมาณได้ว่า 70% ของการผลิตสแตนเลสในโลกนี้เป็นสแตนเลสตระกูลออสเทนนิติค ที่ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15% มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16% และนิกเกิล ซึ่งช่วยปรับปรุงคุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย  โดยทั่วไปจะมีโครเมียม 18% นิกเกิ้ล 10% และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และ 18/8

 

2. ตระกูลเฟอร์ริติค(Ferritic)

มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27% บางเกรดผสมนิกเกิลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม

 

3. ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic)

เป็นตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติคและเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 12 -14% โมลิบดินัม 0.2-1% มีนิกเกิล 0-2%และมีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0.1-1% ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบ คืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน "ซีรี่ส -00"

 

4. ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex)

เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่างโครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19- 28% โมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติค ใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง

 

5. ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก

มีความต้านทานกการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17% และมีนิกเกิล 4% ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากสแตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน

 

แนวทางการใช้งานทั่วไป

 

สแตนเลสตระกูลออสเทนนิติค

เป็นสแตนเลสที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า งานตกแต่งอาคาร งานสถาปัตยกรรม อุปกรณ์ในการผลิตเบียร์ หรือการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารที่มีสมบัติต้านทานที่เกี่ยวข้องกับความสะอาดและสุขศาสตร์อนามัย เช่น ครุภัณฑ์สแตนเลส เครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลและเวชภัณฑ์ สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำติดลบและสามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูง เช่น ทำท่อแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ความร้อน ทำอุปกรณ์ควบคุมหรือกำจัดมลภาวะและควันพิษ งานท่อ, ถังเก็บ ภาชนะที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและภาชนะความดันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตเนื้อเยื่อกระดาษและกระดาษ อุปกรณ์ในตู้โดยสารรถไฟ รถเข็นอาหาร ภาชนะสแตนเลส เครื่องครัวสแตนเลส เป็นต้น

 

สแตนเลสตระกูลเฟอร์ริติค

เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในงานอุปกรณ์ตกแต่งในอาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ช้อนส้อม มีด และเครื่องครัวสแตนเลสใช้ในครัว อ่างสแตนเลส อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน งานสถาปัตยกรรม เครื่องถ่ายความร้อนในกระบวนการผลิตและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตอาหารนม แกนและถังปั่นในเครื่องซักผ้าและเครื่องล้างจาน นอกจากนี้สามารถนำไปใช้ในงานเรือเดินสมุทร ทำแผ่นดาดฟ้าเรือ ฝายน้ำล้น โซ่ในงานขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์ดูดฝุ่นและควัน เป็นต้น

 

สเตนเลตระกูลมาร์เทนซิติค

สามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการความทนทานและมีความแข็ง เช่น ทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด ตัวยึด กระสวยหรือแกนเพลา หัวฉีด เพลาและสปริง โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปเป็นท่อนแบน แผ่น และงานหล่อตัวอย่าง เป็นต้น 

 

สเตนเลสตระกูลดูเพล็กซ์

นำไปใช้ในการทำแผงและท่ออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ถังเก็บ และถังความดันในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นสูง ตัวอย่างงานได้แก่ อุปกรณ์หล่อเย็นด้วยน้ำทะเล การกลั่นน้ำทะเลให้บริโภคได้ อุตสาหกรรมหมักดอง เหมืองฉีดน้ำ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส เป็นต้น

                                                                                           

                                                                                                                   ขอบคุณ แหล่งที่มาข้อมูล: http://www.tssda.org